ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่สวนผัก ของคนรักสุขภาพ และผู้สนใจปลูกผักไร้ดิน (Hydroponic system)

21 ธ.ค. 2554

ทำความรู้จักกับการปลูกพืชไร้ดิน

 
การปลูกพืชไร้ดิน  (Soilless culture) 

           การปลูกพืชไร้ดิน หรือ Soilless culture คือ การปลูกพืชโดยให้รากอยู่ในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดิน ซึ่งได้แก่

            1. การปลูกโดยให้รากแช่อยู่ในน้ำ (water culture หรือ hydroponics)
            2. การปลูกโดยให้รากลอยอยู่ในอากาศ (aeroponics)
            3. การปลูกให้รากอยู่ในวัสดุปลูกอื่น ๆ (substrate culture)
ซึ่งมีดังนี้
               - วัสดุปลูกที่เป็นอนินทรีย์สาร เช่น ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบ ขี้เลื่อย วัสดุผสมต่าง ๆ
             
- วัสดุปลูกที่เป็นอินทรีย์สาร เช่น ทราย กรวด ฟองน้ำ ใยหิน (rock wool) เพอไลท์ (perlite) เวอร์มิคูไลท์ (vermiculite) และวัสดุปลูกสังเคราะห์
            การปลูกในวัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดินเหล่านี้ ต้องให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืชอย่างพอเหมาะสม และต่อเนื่อง จึงจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี


ประวัติความเป็นมาของการปลูกพืชไร้ดิน (Hydroponics System)

            ความพยายามในช่วงแรกๆ ที่จะปลูกพืชไร้ดิน ก็คือ สวนลอยแห่งบาบิโลน เมื่อราว 600 ปีก่อนคริสตกาล และสวยลอยแห่งอัสเต็กซ์ ในช่วงคริสตศวรรษที่ 11
            นักวิจัยการปลูกพืชไร้ดินคนแรกๆ ก็คือ จอห์น วูดเวิด (John Woodward) ชาวอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2242 เขาได้ปลูกพืชในน้ำ โดยได้เติมดินลงไปหลายชนิด การปลูกพืชครั้งนั้นเป็นการสาธิตว่า นอกจากน้ำแล้วในโลกเรานั้นมีสสาร หลายขนิดที่พืชต้องการ ครั้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักสรีรวิทยาพืช (plant physiologists) ชาวเยอรมัน ชื่อซาคส์ (Sachs) และคนอพ (Knop) ได้ปลูกพืชในสารละลายอย่างง่ายของเกลืออนินทรีย์
            เมื่อ พ.ศ. 2472 ศาสตราจารย์ Gericke แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เมืองเดวิส ได้สาธิตว่าพืชจะเติบโตโดยไม่ใช้ดิน สามารถเติบโตไปได้จนโตเต็มที่ ครั้งนั้นเขาได้ปลูกมะเขือเทศในน้ำ จนได้ผลขนาดใหญ่อย่างน่าแปลกใจ และเขาได้เทียบคำศัพท์ในภาษากรีก ที่มีความหมายว่า การเกษตร คือ geoponics ซึ่งหมายถึง ศาสตร์แห่งการปลูกพืชโดยใช้ดิน ด้วยเหตุนี้เขาจึง คิดคำใหม่ว่า "ไฮโดรโปนิกส์" (hydroponics) 

          Hydroponics คืออะไร หลายคนที่เพิ่งเริ่มศึกษาคงมีคำถามว่าที่จิง Hydroponics มันคืออะไรกันแน่การ ปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ คือ การปลูกพืชในน้ำที่มีธาตุอาหารพืชละลายอยู่ หรือการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหารพืช ทดแทนการปลูกพืชในดินที่เราใช้ในการปลูกพืชในการเกษตรทั่วไป
คำว่า ไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics) เป็นคำผสมระหว่างคำ 3 คำ คือ
ไฮโดร (hydro) หมายถึง น้ำ
โปโนส (ponos) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก หมายถึง การทำงาน
อิกส์ (ics) หมายถึง ศาสตร์หรือศิลปะ
          ซึ่งเมื่อรวมคำทั้ง 3 คำ เข้าด้วยกันจึงมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า ศาสตร์แห่งการปลูกพืชโดยใช้น้ำ


          ปัจจุบัน การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มีเทคนิคที่คิดค้นใหม่ๆหลากหลายรูปแบบ มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการปลูกพืชในน้ำ (water culture) เท่านั้น บางกรณีมีการใช้วัสดุปลูก (substrate) ทดแทนดินทั้งหมดและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารพืช ซึ่งเรามักเรียกว่า ซับส์เทรต คัลเจอร์ (substrate culture) หรือมีเดีย คัลเจอร์ (media culture) หรือแอกกรีเกตไฮโดรโปนิกส์ (aggregate hydroponics) เทคนิคดังกล่าวนิยมเรียกว่า การปลูกโดยไม่ใช้ดิน หรือการปลูกพืชไร้ดิน (soilless culture) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าเทคนิคการปลูกพืชในน้ำก็ดี หรือการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์รูปแบบอื่นๆก็ดี บางครั้งอาจเรียกรวมๆว่า soilless culture แทนคำว่า hydroponics ก็ได้ 
          สำหรับประเทศไทย การปลูกพืชแบบไร้ดิน เริ่มมาจากการทดลองของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เสียมากกว่า มีผู้ริเริ่มปลูกเป็นการค้าจริงๆ ที่ตำบลนาดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยชาวไต้หวันเป็นผู้นำเทคโนโลยีนี้เข้ามาแนะนำ โดยเริ่มด้วยการเน้นปลูกผักที่ราคาแพง ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจัดเป็นผักอนามัยปลอดภัยจากสารพิษที่แท้จริงและเจ้าของสวนให้ชื่อว่า "ผักลอยฟ้า" หลังจากนั้นเทคโนโลยีนี้จึงได้ขยายผลไปยังผู้ประกอบการรายอื่น ๆ แต่ก็นับว่าได้ใช้เวลาเกือบ 10 ปี กว่าเทคโนโลยีจะแพร่หลาย

ที่มา: http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/118/sri/history.htm

21 ต.ค. 2554

การเจริญเติบของผักไทย

ด้านซ้าย ผักกาดขาวอายุ 21 วัน  ด้านขวา ถ่ายห่างกัน 1 สัปดาห์ อายุ 28 วัน (ระบบ NFT)


ด้านซ้าย ผักกาดขาวอายุ 21 วัน  ด้านขวา ถ่ายห่างกัน 1 สัปดาห์ อายุ 28 วัน (ระบบ DFT)
         เริ่มมีแมลงศัตรูพืชเข้ามารบกวน ได้แก่ หนอนกระทู้ผัก หนอนชอนใบ และหนอนใยผัก เนื่องจากผักเราไม่ได้กางมุ้ง จึงทำให้โดนแมลงรบกวนได้ง่าย ซึ่งตอนนี้กำลังหมักน้ำ EM ในสูตรขับไล่แมลงอยู่ ได้ผลอย่างไรจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

        แจ้งผล จากการใช้น้ำหมักชีวภาพ ครับ  ได้ผลประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ หลังจากใช้ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยการฉีดพ่น ช่วเวลาเย็น(ประมาณ 18.00น.) วันเว้นวัน พบว่ามีอัตราการรบกวนจากหนอนชอนใบ น้อยลง คือ ไม่พบหนอนชอนใบ ในใบใหม่  หนอนกระทู้ไม่พบเห็นอีกเลย สรุปได้ว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่น สามารถป้องกันศัตตรูพืชมารบกวนผักของเราได้ แถมปลอดภัยจากสารตกค้างอีกด้วย ครับ
หน้าตาของ นำหมักชีวภาพสูตรไล่แมลง ที่บรรจุขวดพร้อมใช้แล้ว


เดียวผมจะทำการลงรูปที่ถ่ายไว้มาให้ดูนะครับ


ทดลองระบบ Aquaponic ภาคปฏิบัติ

ตั้งโครง ด้วย PVC 6 หุน ส่วนตัวราง ใช้ PVC 3 นิ้ว

หัวรางจุดปล่อยน้ำ ใช้ข้อต้อ 3 นิ้ว 
2 ท่อน ตรงกลาง เป็นท่อ PVC 3 นิ้ว ผ่าครึ่ง ออกแบบไว้เพื่อ ใช้อนุบาลต้นกล้าผัก

ปลายท่อ เป็นข้อต่อ ลด จาก 3 นิ้ว เหลือ  1 นิ้ว เป็นจุดถ่ายน้ำกลับ
ออกแบบ ให้เป็นระบบน้ำล้นในตัว ซึ่งเมื่อน้ำไหลตามรางมาจนเต็มข้อต่อ 3 นิ้ว ก็จะล้นออกมาตามท่อลด 1 นิ้ว มารวมกันเพื่อไหลย้อนกลับลงบ่อกรองน้ำล้นอีกครั้ง

ท่อรวมน้ำไหลกลับเป็นท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว

ชุดวาล์วควบคุมการไหลกลับของน้ำไปยังบ่อกรอง ใช้ ข้องอ ขนาด 1 นิ้ว ลดเหลือ 4 หุน
โดยมี บอลวาล์ว 2 ชุดเพื่อปรับความแรงของการไหลกลับของน้ำทั้ง 2 ชุด

ภาพโดยรวมก่อนทดสอบการไหลเวียนของน้ำ
ทุกจุดของข้อต่อ จะไม่ใช้กาวทาท่อ (เผื่อไว้ก่อน เผื่อรื้อ ) จึงต้องใช้ซิลิโคนทาป้องกันน้ำรั่วทุกจุด

ภาพโดยรวมก่อนทดสอบการไหลเวียนของน้ำ(อีกมุม)

บ่อกรอง ชุดน้ำไหลกลับ ใช้ใยแก้วกรองน้ำ
บ่อกรองเป็นระบบน้ำล้นผ่านท่อ PVC ขนาด 1 นิ้ว น้ำที่จะไหลกลับไปยังบ่อเลี้ยงปลาจะผ่านการกรองโดยใยแก้อีกครั้งหนึ่งก่อน เพื่อกรองเอาเศษต่างๆออกก่อนปล่อยลงบ่อเลี้ยง

บ่อกรอง ชุดจ่ายน้ำเข้าระบบ ใช้ใยแก้วกรองน้ำ 
น้ำจะไหลผ่านท่อ PVC ขนาด 4 หุน โดยผ่านปั้มน้ำขึ้นมายังบ่อกรอง แล้วจะไหลผ่านท่อน้ำล้นขนาด 1 นิ้ว ผ่านการกรองด้วยใยแก้ เพื่อกรองเอาเศษอาหาร ต่างๆออก ไหลมารวมกันที่ท่อ PVC 4 หุน ซึ่งปลายท่อจะเจาะ ใส่ท่อ PE ขนาด  0.5 ซ.ม. เพื่อจ่ายให้กับระบบ แปลงปลูกผักต่อไป
ท่อ PE ขนาด 0.5 cm. เป็นตัวจ่ายน้ำให้กับระบบปลูกผักไร้ดิน(DRFT System)
ปั้มน้ำขุมกำลังของระบบ

ทดสอบการไหลเวียนของน้ำในระบบ ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง
ตรงกลางในภาพ ลองนำต้นกล้าผักไทยมาทำการอนุบาล เพื่อไห้รากแข็งแรง (ได้ผลดี ทำให้รากต้นกล้ายาวเร็วและแข็งแรง)

หลังจากทดทดลองปล่อยปลาดูแล้ว เริ่มเกิดปัญหา

   ปริมาณของปลาในบ่อน้อยเกินไป ทำให้สารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของผักบนแปลง (ผักมีอาการเหลือง)
เปลี่ยนแนวคิดใหม่ มาเป็นแปลง ที่ใช้เลี้ยงผัก Hudroponics ก่อนที่จะเก็บเกี่ยวซะเลย

ตรงกลางเป็นแปลงอนุบาลต้นกล้าเพื่อให้รากของต้นกล้ายาวและแข็งแรง ก่อนที่จะย้ายไปเลี้้ยงยังแปลงผักระบบ Hydroponic
ภาพโดยรวม ผักที่ได้หวานกรอบอร่อย ปลอดสารพิษ 100 เปอร์เซ็น

14 ต.ค. 2554

ระบบ DFT จาก กระถางพลาสติกสี่เหลี่ยม




ติดตามรายละเอียด ตอนต่อไป

  ตอนนี้กำลังทดลองระบบ Aquoponic อยู่ จึงไม่ค่อยได้เข้ามาอัฟเดท Blog

27 ส.ค. 2554

ค่า EC ของผัก และ การผสมสารละลาย

ตารางแสดง ค่า EC ของผักแต่ละชนิด และอัตราการผสมสารละลาย 
ชนิดของผัก ค่า EC ปริมาณน้ำ สารละลาย Aสารละลาย B
ผักคะน้า 4.5 10 ลิตร 90 ซีซี90 ซีซี
ผักกวางตุ้ง 3 10 ลิตร 60 ซีซี60 ซีซี
กวางตุ้งฮ่องเต้ 2 10 ลิตร 40 ซีซี40 ซีซี
ผักโขม 1.8 10 ลิตร 36 ซีซี36 ซีซี
ผักสลัด 1.5 10 ลิตร 30 ซีซี30 ซีซี
ผักกาดหอมห่อ 1 10 ลิตร 20 ซีซี20 ซีซี

          เทคนิคการผสมสารละลายให้ได้ค่า EC ตรงตามที่ต้องการ

มีขั้นตอนดังนี้
  1. เตรียมสารละลาย AและB มาไว้ให้พร้อม
  2. นำภาชนะขนาด 10 ลิตรมาใส่น้ำสะอาดไว้ครึ่งหนึ่ง (5 ลิตร) 
  3. นำซลิงค์ ดูดสารละลาย A ตามปริมาณที่ระบุไว้ในตารางด้านบนมาใส่ในน้ำสะอาดที่เตรียมไว้
  4. ใช้ไม้หรือท่อ PVC กวนให้สารสะลายกับน้ำเข้ากันประมาณ 1-2 นาที
  5. นำซลิงค์ ดูดสารละลาย B ตามปริมาณที่ระบุไว้ในตารางด้านบนมาใส่ในน้ำที่ผสมสารละลาย Aแล้ว
  6. ใช้ไม้หรือท่อ PVC กวนให้สารละลายเข้ากัน ประมาณ 1-2 นาที
  7. เติมน้ำสะอาดลงไปให้ครบ 10 ลิตร (น้ำสะอาดรวมกับสารละลาย AB แล้วไม่ควรเกิน 10 ลิตร)
  8. นำขวดหรือภาชนะมาบรรจุน้ำที่ผสมเรียบร้อยแล้วพร้อมเขียนกำกับข้างภาชนะว่าเป็นธาตุอาหารที่มีค่า EC เท่าไหร่ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
หมายเหตุ 
  1. สารละลายที่ผสมแล้วควรเก็บในที่ร่มควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง
  2. กรณีที่ค่า EC คลาดเคลื่อนอาจเป็นได้หลายสาเหตุเช่น ปริมาณน้ำมากหรือน้อยเกินไป สารละลายชนิดเข้มข้นอาจมีการตกตะกอน ฯลฯ
  3. สารละลาย A และ B จะผสมกันได้นั้นต้องเป็นในกรณีที่เจือจางแล้วเท่านั้น หากผสมขณะที่เข้มข้นจะทำให้ธาตุอาหารบางตัวตกตะกอนหรือจับตัวกันเป็นเกลือจนพืชไม่สามารถนำสารอาหารไปใช้ได้อย่างครบถ้วน
  4. ควรทำฉลากติดข้างภาชนะที่บรรจุสารละลายที่ทำการผสมไว้แล้วให้ชัดเจน และควรเก็บในที่ปลอดภัยหากไกลมือเด็ก

13 ส.ค. 2554

Aquaponic System (ทางเลือกใหม่ในการปลูกผักและเลี้ยงปลาพร้อมๆกัน)


การปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน


อควาโปนิกส์ (Aquaponics) คือ การรวมระบบของการเลี้ยงสัตว์น้ำและการปลูกพืชเข้าด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันทำได้โดยการเลี้ยงปลาแบบน้ำไหลเวียนร่วมกับการปลูกพืชผักสมุนไพรด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งเป็นการพัฒนาขั้นสูงของนักวิจัยและผู้ปลูกพืชผัก เพื่อให้เกิดต้นแบบการผลิตอาหารแบบยั่งยืนเพื่อเลี้ยงประชากรโลกในอนาคต ปัจจุบันอควาโปนิกส์ เปรียบเหมือนต้นแบบของการผลิตอาหารแบบยั่งยืน โดยยึดถือหลักการที่แน่นอน ดังนี้คือ 1.ผลิตภัณฑ์ของเสียของระบบชีววิทยาชนิดหนึ่ง สามารถผลิตสารอาหารให้ระบบชีววิทยาอีกชนิดหนึ่งได้อย่างเหมาะสม 2.การรวมการผลิตพืชและการเลี้ยงปลาเป็นผลของการผลิตแบบหลากหลาย (Polyculture) ซึ่งจะเพิ่มความหลากหลายและได้ผลผลิตแบบทวีคูณ เป็นระบบนิเวศแบบเกื้อกูลกัน 3.น้ำถูกกรองโดยผ่านการกรองทางชีววิธี และนำกลับมาใช้ซ้ำและ 4.เป็นการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพปราศจากสารเคมีสามารถผลิตได้ทั่วไป ช่วยยกระดับเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นได้

ในระบบอควาโปนิกส์ น้ำที่ออกจากการเลี้ยงปลาอุดมไปด้วยธาตุอาหารพืช ซึ่งได้จากสิ่งปฏิกูลของปลาถูกนำมาใช้ในการให้ปุ๋ยกับระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโปรนิกส์ ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ดีสำหรับปลา เพราะรากพืชและจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณรากพืช จะใช้ธาตุอาหารเหล่านี้จากน้ำในถังเลี้ยงปลา สารอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีการผสมผสานกันหลายชนิดจากสิ่งปฏิกูลของปลา สาหร่ายและการย่อยสลายของอาหารปลา ซึ่งสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้จะทวีความเป็นพิษรุนแรงขึ้นในถังเลี้ยงปลา แต่สิ่งเหล่านี้ก็ทำหน้าที่แทนปุ๋ยสำหรับการปลูกพืชแบบไฮโดโปรนิกส์

ในทางกลับกันรางปลูกไฮโดรโปรนิกส์ทำหน้าที่เป็นระบบกรองแบบชีววิธี ซึ่งจะเปลี่ยนสารประกอบพวกแอมโมเนียให้กลายเป็นสารประกอบพวกไนไตรท์และไนเตรทตามลำดับ รวมถึงสารประกอบในกลุ่มพวกฟอสฟอรัส ทำให้น้ำมีความสะอาดเพียงพอซึ่งจะถูกนำกลับมาใช้ในถังเลี้ยงปลา นอกจากนั้นยังพบว่าบักเตรีบางชนิด เช่น Nitrifying bacteria ที่เปลี่ยนแอมโมเนีย (NH3X) เป็นไนไตร์ (Nitrie) และไนเตรท (Nitrate) ที่อาศัยอยู่ในกรวดและอยู่ร่วมกับรากพืช สามารถแสดงบทบาทในวัฎจักรอาหาร ในกลุ่มของไนโตรเจนได้ ซึ่งถ้าปราศจุลินทรีย์เหล่านี้ระบบทั้งหมดจะหยุดทำงานทันที นักปลูกพืชและเกษตรกรได้พูดถึงอควาโปรนิกส์ได้หลายเหตุผล ดังนี้

1.ผู้ปลูกพืชไฮโดรโปรนิกส์ได้ให้มุมมองว่า สิ่งปฏิกูลขอปลาเปรียบเสมือนปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งทำให้พืชเจริญ 2.ผู้เลี้ยงปลาได้ให้มุมมองว่า การกรองโดยชีววิธี ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าการเลี้ยงปลาในตู้เลี้ยงทั่วไป3.ผู้ปลูกพืชคิดว่า อควาโปนิกส์ เป็นวิธีที่จะผลิตผักไฮโดรโปนิกส์แบบอินทรีย์ สู่ตลาดที่มีความนิยมอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะการผลิตแบบนี้ได้ปุ๋ยจากมูลปลาที่มีคุณค่าซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ต้องหาธาตุอาหารให้กับการปลูกพืช 4.สามารถผลิตได้ทั้งปลาและผักในเขตทุรกันดาร 5.อควาโปนิกส์ เป็นต้นแบบที่สามารถทำงานได้จริงในการผลิตอาหารแบบยั่งยืน โดยเป็นการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์รวมเข้าด้วยกัน มีการหมุนเวียนสารอาหารและการกรองน้ำร่วมกัน อควาโปนิกส์ นอกจากเป็นการประยุกต์ใช้เพื่อเชิงการค้า ยังเป็นแนวคิดที่นิยมในการถ่ายทอดในเรื่องของการรวมระบบทางชีววิทยากับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และการเรียนการสอนทางเทคโนโลยีของอควาโปนิกส์เป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน ต้องการการจัดการและการตลาดของผลผลิตที่แตกต่างกันสองผลิตภัณฑ์ จนกระทั่งปี 1980 ได้มีความพยายามอย่างมากที่จะผสมผสานไฮโดรโปนิกส์และการเลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำ และในที่สุดได้เกิดเป็นเทคโนโลยีที่เรียกว่า อควาโปนิกส์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตอาหารที่ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี และเป็นการผลิตอย่างยั่งยืนไม่เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม






ดร.ราเชนทร์ วิสุทธิแพทย์
ฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

ระบบนี้กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ครับ หากเพื่อนๆสนใจ ลองค้นหาใน Google ดูโดยพิมพ์คำว่า Aquaponic ส่วนผมกำลังทดลองอยู่หากมีความคืบหน้าประการใดจะมาอัปเดทข้อมูลให้ได้ติดตามกันอีกครั้งครับ

         หลังจากได้ลองศึกษาดูในเว็ปต่างๆ (ส่วนให้เป็นเว็ปนอก) ก็เลยลองออกแบบดู ได้หลักการทำงานตามภาพด้านล่างนี้ เหลือแค่ลอง ลงมือปฏิบัติจริงเท่านั้น


การทดลองภาค ปฎิบัติ


คลิ๊ก  ตามไปดูการทดลองภาคปฎิบัติ กันครับ

18 ก.ค. 2554

การเจริญเติบโตของสลัด กรีนโอ๊ค (Green Oak)

    การเฝ้าติดตามการเจริญเติบโตของการทดลองปลูกผักสลัดกรีนโอ๊ค ในระบบ NFT ตั้งแต่ลงรางปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว
ลงรางปลูกวันแรก
อายุประมาณ 2 สัปดาห์


อายุ 3 สัปดาห์
อายุก่อนเก็บผลผลิต
ข้อควรระวัง ในการปลูกผักสลัดประเภทกินสดๆ

ไม่ควรเติมสารละลายมากเกินกว่าที่กำหนด เพราะจะทำให้ผักมีรสชาดขม
วิธีแก้ไข ช่วงผักมีอายุ 3 สัปดาห์ช่วงนี้น้ำในถังสาารละลายจะเริ่มยุบ ให้เติมเฉพาะน้ำเปล่าโดยไม่ต้องเติมสารละลาย เนื่องจากอากาศเมืองไทยจะร้อนมากทำให้ผักดูดน้ำมากกว่าสารละลายอยู่แล้ว หากเติมสารละลายเข้าไปเพิ่มอีกก็จะทำให้ค่า EC มีความเข้มข้นสูงขึ้น ผักก็จะยิ่งขม หรือทางที่ดีที่สุด ก่อนเก็บผลผลิตประมาณ 1 สัปดาห์ให้ถ่ายน้ำผสมสารละลายออกให้หมดแล้วเติมน้ำสะอาดลงไปแทน แล้วก็เลี้ยงผักต่อไปอีก 5-7 วัน ค่อยเก็บผลผลิต ก็จะทำให้ผักที่ได้มีรสชาดหวานกรอบ ได้

พร้อมจะกลายเป็นอาหารว่างของวันนี้แล้ว
มาดูสไลด์เต็มๆ ตั้งแต่ต้นลงรางปลูก จนถึงอายุเก็บเกี่ยว

7 ก.ค. 2554

ทดลองปลูกผักไทย ในระบบ DFT

      หลังจากที่ทำการทดลองปลูกผักสลัด ทั้งในระบบ NFT และ DFT สำเร็จได้อย่างงดงาม แล้ว

ครั้งนี้เราจึงอยากนำเสนอการทดลองปลูกผักไทย ในระบบ DFT ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้

อุปกรณ์การทดลอง
  1. เมล็ดพันธุ์ผักไทย
  2. ฟองน้ำเพาะเมล็ด
  3. ถ้วยรองฟองน้ำ
  4. ถาดเพาะเมล็ด
  5. ผ้าคลุมถาดเพาะ
  6. ปั้มออกซิเจนตู้ปลา (ซื้อได้ที่ร้านขายปลาสวยงาม)
  7. หัวทรายพ่นออกซิเจน + สายยาง (ซื้อได้ที่ร้านขายปลาสวยงาม)
  8. ถังเก็บสารละลาย (กล่องพลาสติก ขนาดความจุ 55 ลิตร)
  9. แผ่นฟิวเจอร์บอร์ด (ตัดให้ใหญ่กว่าปากของกล่องพลาสติกสารละลายเล็กน้อย)
  10. ถ้วยตวงสารละลาย
ขั้นตอนการทดลอง

1. เพาะเมล็ดพันธุ์ผักตามจำนวนที่ต้องการ ทำตาม ขั้นตอนการเพาะเมล็ด ที่บอกไว้

เริ่มเพาะเมล็ด
ใช้ผ้าคลุมเพิ่รักษาความชื้นและกระตุ้นอัตราการงอก
 
ต้นกล้าผักไทย ที่ผ่านกระบวนการเพาะเมล็ดแล้ว อายุ 11 วัน
ลักษณะต้นกล้าที่มีความแข็งแรง พร้อมย้ายลงระบบปลูก

2. เมื่อต้นกล้ามีลักษณะ ความสมบูรณ์แข็งแรง ตามที่บอกไว้ ให้ทำการย้ายปลูก
 ต้นกล้าไม่สูงจนเกินไป มี ใบจริง 2 ใบ สังเกตุ เห็นรากได้อย่างชัดเจน
3. เตรียมระบบปลูก

  • เติมน้ำในกล่องพลาสติกที่เตรียมไว้ จำนวน 50 ลิตร

น้ำในกล่องพลาสติกจำนวน 50 ลิตร
  • เตรียมหัวทรายต่อเข้ากับปั้มออกซิเจน  จำนวน 2 จุด เพื่อเพิ่มปริมารออกซิเจนในน้ำ
หัวทราย
การทำงานของออกซิเจนทั้ง 2 จุด
ภาพขยายการทำงานของหัวทรายเติมอากาศ

4. ย้ายกล้าผักลงระบบปลูก (ควรย้ายกล้าผักช่วงเย็น เพื่อให้กล้าผักปรับตัวและพักฟืนเวลากลางคืน)
  • นำกล้าผักสอดเข้าด้านล่างของถ้วยปลูก
ลักษณะการสอดกล้าผักให้เหลือฟองน้ำโผ่พ้นก้นถ้วยปลูก
  •  น้ำถ้วยปลูกไปวางในหลุมปลูกที่เตรียมไว้(แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดเจาะรู เว้นระยะห่าง 10 ซม.) จนครบทุกหลุม
กล้าผักที่ย้ายลงหลุมปลูก อายุ ต้นกล้า 15 วัน
 ทิ้งไว้ข้ามคืนให้ต้นกล้าได้พักฟืนและปรับตัว

  •  เติมสารละลาย A ตามอัตราส่วน 250 มิลลิลิตร เนื่องจากน้ำในระบบ 50 ลิตร
สารละลาย A 250 มิลลิลิตร.
ทิ้งระยะเวลา 4 ชั่วโมง

  • เติมสารละลาย B 250 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 50 ลิตร
สารละลาย B 250 มิลลิลิตร
5. การดูแลรักษา หมั่นตรวจดูระบบการทำงานของหัวเติมอากาศว่าทำงานปกติหรือไม่

ระบบเติมอากาศ
อายุผักรวมเพาะเมล็ด 15 วัน
ถ่ายวันที่ 26/6/2011
อายุผักรวมเพาะเมล็ด 25 วัน ถ่ายวันที่ 6/7/2011
แถวกลางนำกล้าผักสลัดมาอนุบาล

หลังจากนี้ก็คอยติดตามดูการเจริญเติบโตกันครับ
แล้วจะเก็บรูปมาฝากเรื่อย ๆ จนกว่าจะเก็บผลผลิต

 



ผักอายุ รวม 30 วันถ่ายวันที่ 11-07-2011

          สังเกตุ ระยะเวลาจากรูปด้านบนขวามือ  เทียบกับด้านล่าง ซ้ายมือ ห่างกัน เพียง 5 วัน เท่านั้น ช่วงนี้ผักจะโตเร็วมาก ให้หมั่นตรวจดูระดับน้ำ ในถังเก็บสารละลายหากยุบมาก ๆ ก็ควรเติมน้ำผสมสารละลาย ตามอัตราส่วน 5 ซีซี ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร

         ก่อนเก็บผลผลิตให้ถ่ายสารละลายออกให้หมด แล้วเติมน้ำเปล่าแทน เลี้ยงต่ออีก 3-4 วันก็เก็บผลผลิตได้ (สารสารละลายที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดผักที่ปลูกบนดินได้)


ผักก่อนเก็บผลผลิต (เลี้ยงน้ำเปล่า มา 4 วัน)
ระบบรากพืชที่มีความแข็งแรง

ไดโตเกียวกับพี่พีช เด็ก 4 ขวบ
ผักกาดขาวไดโตเกียว


ผักกาดเขียวปลี
ผักกาดเขียวกวางตุ้ง


กวางตุ้งฮองเต้
ผลผลิตทั้งแปลง


กลายเป็นอดีตไปแล้ว
กวางตุ้งฮ่องเต้ผัดน้ำมันหอย



ปัญหาที่เกิดจากการทดลอง
  1. เนื่องจาก ปลูกผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน ซึ่งมาอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดปัญหาการบังแสงแดดของต้นพืชที่โตช้ากว่า
  2. ระยะห่างระหว่างหลุมในแปลงปลูกใกล้กันเกินไป ทำให้เกิดการเบียดเสียดของประชากรผัก ผลผลิตที่ได้อาจมีใบและลำต้นไม่ค่อยสวย และเกิดการแตกหักของก้านใบได้ง่าย(แต่ไม่มีปัญหาการแย่งสารอาหารเนื่องจากรากพืชได้รับสารละลายอย่าเต็มที่จากรากอยู่แล้ว)
รูป ผักในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัด





          ปัญหาใหญ่ที่ทำให้ผักชะงักการเจริญเติบโต อีกปัจจัยหนึ่ง คือ อากาศที่ร้อนจัด ในช่วงเวลาต้งแต่ 11.00 - 13.00 น. ซึ่งเมื่อดูจากรูป แล้ว บางท่านคิดว่าอาการนี้ ไม่น่ารอด แต่หลังจากผ่านช่วงเวลา ประมาณ 16.00 น. เป็นต้นไปผักก็จะเริ่มฟื้นขึ้นมาเรื่อยๆ จนตั้งตัวได้อีกครั้ง ตามรูปด้านล่าง เพราะฉะนั้น สำหรับมือใหม่ที่ปลูกผักไทยและกำลังประสบปัญหานี้อยู่ก็คงจะเบาใจได้บ้างนะครับ  แต่ในทางที่ดีควร จะกำบังแสงให้น้องผักหน่อยจะดีกว่ามากๆ เนื่องจากผักจะได้ไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงเวลากลางวัน
รูป ผัก หลังผ่าน ช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัดมาได้ ถ่ายเวลาประมาณ 17.00 น.